Thursday, January 23, 2014

ประเทศไทย: เมื่อนโยบายจำนำข้าวถึงจุดล่มสลาย ถึงเวลาชาวนาต้องหาทางออก

บทความนี้แปลและเรียบเรียงจาก  Thailand: Vote-Buying Rice Scam Collapses - Farmers in Need of a Solution ต้นฉบับภาษาอังกฤษอ่านที่นี่


หลักการพึ่งตนเองแบบเศรษฐกิจพอเพียงและเทคโนโลยี   จะสามารถทำลายวงจรความทุกข์ยากของชาวไร่ชาวนาได้หรือเปล่า??
*
ในภาพ: เกือบครึ่งปีแล้วที่ชาวนายังไม่ได้รับเงินจากโครงการรับจำนำข้าว    และดูเหมือนว่าพวกเขาจะไม่ได้รับการจ่ายแน่ๆ เพราะโครงการรับจำนำข้่าวได้ล้มเหลวไปอย่างสิ้นเชิง
20ม. ค. 2557  (ATN) ข่าวจากไทยพีบีเอส ระบุว่า คณะกรรมการข้่าวที่มียิ่งลักษณ์  ชินวัตร  รักษาการณ์นายกรัฐมนตรี เป็นประธาน ได้มีมติยุติโครงการรับจำนำข้่าวภายในสิ้นเดือนก.พ.นี้  เพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อรัฐบาล  โดยการประชุมที่เกิดขึ้นไม่ได้มีการเสนอเรื่องการระดมทุนที่จะมาช่วยชาวนา  แต่เลือกตั้งจะตัดปัญหาโดยการยกเลิกโครงการดังกล่าว  เพราะไม่มีิเงินมาจ่าย เนื่องจากธนาคารต่างๆไม่สามารถให้กู้ได้   เงินตรงนี้ต้องมาจากการขายข้าวเท่านั้น  อย่างไรก็ตามทางธนาคาร ธกส.ได้ออกมาตรการมาช่วยเหลือผู้เดือดร้อน โดยอนุมัติวงเงิน10,000 ล้่านบาท เพื่อให้ชาวนาสามารถกู้ได้ในวงเงินไม่เกิน20% ของเงินค่าข้่าวที่ยังไม่ได้รับการจ่าย อัตราดอกเบี้ยร้อยละ 7  และมีการขยายการชำระหนี้ออกไปอีก 1 ปี โดยไม่มีค่าปรับ

ชาวนาได้สูญเสียข้าวของตัวเองไปที่โกดังข่้่าวของรัฐไปแล้ว  แต่ยังไม่ได้รับเงินตามที่สัญญาไว้  ที่แย่ไปกว่านั้นรัฐบาลระบอบทักษิณได้เสนอทางออกโดยเสนอเงินกู้ให้กับชาวนาแทน  ซึ่งจะว่าไปแล้วก็เหมือนกับการ  “ยักยอกทรัพย์” ชาวนา โดยรัฐบาลอ้างว่าเพราะนโยบายนี้มาจากการเลือกตั้ง ซึ่งในความเป็นการกระทำผิดฐาน “ยักยอกทรัพย์” ชาวนาแบบนี้้ต้องให้กระบวนการยุติธรรมเข้ามาดำเนินการ ไม่ใช่การเดินหน้าไปสู่
การเลือกตั้งอัปยศ แบบที่รัฐบาลระบอบทักษิณกำลังทำอยู่

บางคนคงไม่แปลกใจเลยกับสภาพหายนะที่เกิดขึ้น  เพราะมี
การคาดการณ์กันมาอย่างยาวนานว่าหากรัฐบาลระบอบทักษิณยังดำเนินนโยบายนี้ความหายนะ และความล่มสลายของชาวนา เป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงไม่่ได้แน่นอน  ผลจากนโยบายนี้้ที่รัฐบาลไม่มีเงินจ่ายชาวนา ได้ทำให้ชาวนาเดือดร้อนอย่างแสนสาหัส ทั้งการเผชิญกับหนี้สินเดิมที่ยังไม่่ได้ชำระ และการสูญเสียวิถีชีวิตแบบที่เป็นมา จนทำให้ชาวนาประกาศตัวร่วมชุมนุมต่อต้านรัฐบาล  ซึ่งในเรื่องนี้แกนนำ กปปส.ตั้งหาทางออกและแก้ปัญหาให้กับชาวนาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว  ทัั้งนี้การช่วยเหลือด้านการเงินเป็นการแก้ปัญหาเพียงระยะสั้นเท่านั้น  แต่ในระยะยาวต้องมีการแก้ปัญหาที่มากกว่านั้นและต้องเป็นการแก้ปัญหาที่เป็นรูปธรรมอย่างยั่งยืน

การพึ่งตนเอง  VS ข้าทาสที่ต่้องอาศัยรัฐบาลไปตลอดชีวิต

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอธิปไตยไม่ได้ตกเป็นเมืองขึ้นของจักรวรรดิใดๆ จากการปกป้องของพระมหากษัตริย์ในยุคต่างๆนานกว่า 800 ปี   โดยปัจจุบันคือสมัยของราชวงก์จักรี ที่ปกครองประเทศไทยมาเทียบเท่ากับการเกิดขึ้นของสหรัฐอเมริกา  โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9  ซึ่งเป็นเหมือน “พระบิดาแห่งการก่อตั้ง”  ที่ดูแลรักษาราชอาณาไทยเหมือนกับ 800 ปีที่ผ่านมา  ได้มีคำตอบที่เป็นรูปธรรมต่อภัยคุกคามต่างๆ ที่ราชอาณาจักรไทยได้เผชิญอยู่ทั้งเรื่องหายนะทางเศรษฐกิจและความยากจน

แน่นอนที่สุดคำตอบที่ว่านี้คือ “หลักการพึึ่งพาตนเอง”  การพึ่งพาทั้งในระดับชาติ  จังหว้ด ชุมชน  และ ครัวเรือน โดยหลักการณ์นี้มาจากแนวคิด
“ทฤษฎีใหม่”  หรือ “แนวทางเศรษฐกิจพอเพียง” ของในหลวง เพื่อเป็นกระจกที่สะท้อนกลับการพยายามกดขี่และทำลายโลกโดยารผูกขาดของกลุ่มทุนการเงิน ซึ่งเป็นผลมาจากโลกาภิวัฒน์

ในภาพ: วิสัยทัศน์ของการพึ่งตัวเองในประเทศไทย   คุณค่าทางการเกษตรและหลักการพึ่งพาตนเองที่ก่อให้เกิดหลักประกันของเสรีภาพที่แท้จริ

ขั้นที่1  หลักการง่ายของการพึ่งตนเอง คือการปลูกทุกอย่างเพื่อให้เป็นอาหารของตัวเอง โดยภาพนี้จะเห็นได้จากการดูธนบัตร  1000 บาท ที่เราเห็นผู้หญิงกำลังทำไร่ทำสวนอยู่
ขั้นที่ 2 ขั้นต่อมาผลิตให้เหลือเพื่อนำไปขาย และสามารถนำเงินมาซื้อเทคโนโลยีเพื่อนำมาเพิ่มพูนความสามารถในการสร้างความยั่งยืนและปรับปรุงการใช้ชีวิต




ในภาพ  : ธนบัตรใบละ 1000 บาท  โดยข้างซ้่ายจะเป็นภาพเขื่อนต่างๆ เพื่อป้องกันน้ำท่วมและผลิตไฟฟ้่า ในขณะที่ตรงกลางเป็นรูปในหลวง ด้านขวา คือภาพการพึี่งพาตนเองตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง
ขั้นที่ 3  ขั้นตอนนี้กำลังมีความเป็นไปได้  โดยการใช้ความร่วมมือทางเทคโนโลยี  (Hackerspaces) (Makerspace)  หรือ “Fab Lab” (fabrication laboratories created by MIT)  ซึ่งเป็นการให้พื้นที่ให้ประชาชนได้มาเรียนรู้ และทำงานร่วมกัน โดยอาศัยเทคโนโลยีเพื่อเป้าหมายที่หลากหลาย  ทั้งผู้ประกอบการ และผู้ใช้เทคโนโลยี  สามารถแก้ปัญหาท้องถิ่นเหล่านี้ได้ด้วยการร่วมมือกันทางศึกษาและเทคโนโลยี

การที่ทุกคนสามารถดำรงชีวิตด้วยตัวเองและสามารถมีรายได้จากกิจกรรมการเกษตรต่างๆ ด้วยเทคโนโลยีและทักษะต่างๆ สามารถขยายกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่นอกเหนือจากภาคการเกษตรได้  คนที่ใช้ความรู้ ทักษะ เครืื่องมือ  สามารถเปลี่ยนโลกทั้งใบของพวกเขาเอง โดยไม่ต้องพึ่งพาการ  “เลือกตั้ง” หรือพวกนักการเมืองให้ช่วยพวกเขา  คนเหล่านี้ไม่จำเป็นต้องเอาชีวิตและวิถีชีวิตไปเสี่ยงกับนักการเมืองที่เต็มไปด้วยความเคลือบแคลง   แต่คนเหล่านี้สามารถอยู่ด้วยตัวเอง ด้วยสองมือ และ สามารถกำหนดชะตาชีวิตของตัวเอง ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากในเรื่องอิสรภาพที่แท้จริงของชีวิต

เทคโนโลยี คือ อำนาจที่แท้จริง

การนำเทคโนโลยีต่างๆไปให้คนในพื้นที่ขนบท   สามารถทำให้ประชาชนสามารถผลิตเทคโนโลยีด้วยตัวเอง   ความคิดนี้เป็นจริงแล้วใน “วันนี้”  โดย ดร. นีล เกรชเช่นเฟลด์  ได้พัฒนา  “ห้องปฏิบัติการเพื่อการประดิษฐ์”  หรือ แฟบ-แล็บ "fabrication laboratory" or "Fab Lab." ที่เป็นเหมือนโรงงานเล็กๆที่สามารถ “สร้่างได้เกือบทุกอย่าง”  โดยห้องแลบดังกล่าวได้มีกลายเป็นแบบจำลองและมี
การทำซ้ำในหลายแห่งทั่วโลก โดยเฉพาะในพื้นที่ชนบทที่อยู่ห่างไกล โดยเขาเรียกว่าเป็นการ “ปฏิวัติส่วนบุคคล”  โดยมีเป้าหมายในการเปลี่ยนโลกของผู้บริโภคให้เป็นผู้มีิอิสระทั้งในการออกแบบและการผลิต


ในวิดิโอ  : ดร. นีล แสดงการทำงานของ Fab Lab at TED. 
....

ดร. เกรชเช่นเฟลด์   ได้กล่าวด้วยว่าปัญหาหลักๆมาจากรัฐและสถาบันใหญ่ๆ ทั้งๆที่คนส่วนมากตื่นเต้นกับนวัตกรรมนี้ "แต่มันก็ขัดกับหลักของบริษัทที่สอนให้บุคคลากรเป็นแต่ผู้บริโภคเทคโนโลยีแทนที่จะสอนให้คนมีความคิดสร้างสรรและกล้าที่จะทำ"
ดร.เกรชเช่นเฟลด์    สรุปว่า ศักยภาพที่แท้จริงของ Fab Lab ว่า “ประชาชนอีก5,000 ล้านคนบนโลกใบนี้  ต้องไม่เป็นแค่ “อ่าง” หรือแค่การรองรับ แต่พวกเขาจะเป็น “แหล่งที่มา,เป็นทรัพยากร” โดยโอกาสที่แท้จริง คือการควบคุมพลังสร้างสรรค์ ของโลก และ นำไปสู่การออกแบบและการแก้ปัญหาในท้องถิ่น  โดยเขาเคยคิดว่าแนวคิดนี้จะสามารถเป็นไปได้ในอีก20ปี แต่ความจริงแล้วมันได้เกิดขึ้นแล้วในตอนนี้ ที่ปัจจุบัน Fab Lab ของเขาได้มีประสบความสำเร็จไปแล้วในหลายแห่งทั่วโลก




ในภาพ : การออกแบบ Fab  Lab ที่อัมสเตอร์ดัม  ควบคู่ไปกับการสร้างเทคโนโลยีส่วนบุคคล
ดร. เกรชเช่นเฟลด์ พยายามจะสื่อก็เป็นการสะท้อนภาพวัฒนธรรมแห่งความพอเพียงของคนไทยอยู่แล้ว ซึ่งสืบต่อมาถึงวิธีการบริหารอย่างมีประสิทธิภาพที่ทำให้กลุ่มกิจการเล็กๆ สามารถเอาชนะบริษัทใหญ่ๆได้ ซึ่งเกิดเป็นแรงบันดาลใจและกำลังใจในสิ่งประดิษฐ์ของเขา ที่มีศักยภาพในการเปลี่ยนแปลงโลกได้ แต่สิ่งที่ยากกว่าคือการเปลี่ยนการมองแบบเก่าๆ หรือ เรียกว่าการสร้างกระบวนทัศน์การรับ “เทคโนโลยี”ของประชาชนให้เปิดใจรับเทคโนโลยีใหม่ๆ  ซึ่งตอนนี้ได้เกิดขึ้นในหลายๆแห่งแล้ว

การที่จะทำให้สิ่งเหล่านี้เป็นจริงได้ ประชาชนต้องตระหนักในอำนาจของตัวเองทีี่จะเปลี่ยนชีวิตตัวเองไม่ให้นอนรอแค่ “วันเลือกตั้ง”อีกต่อไป แต่เลือกที่จะเปลี่ยนชีิวิตด้วยสองมือของตัวเอง และสถาบันการเรียนรู้ของท้องถิ่นจะสรรสร้่างเทคโนโลยีสิ่งดีๆร่วมกัน เหมือน Fab Lab  Hackerspace Makerspace

นำความหลากหลายทางเศรษฐกิจผ่านเทคโนโลยีสู่ชนบท
สำหรับคนไทยคงไม่จำเป็นต้องรอ MIT นำเทคโนโลยีมาให้  เพราะการพัฒนาที่ว่านี้ได้เกิดขึ้นแล้วมีและมีการทำอยู่ในการรวมกลุ่มเรียนรู้ทางเทคโนโลยี (Hackerspace)ที่มีอยู่ทั่วโลก  โดยในกรุงเทพฯเองก็มี2 กลุ่ม แล้ว คือที่
CITEC และ Bangkok Hackerspace แต่โดยตอนนี้จะโฟกัสในเรื่อง IT และ อิเล็คทรอนิกส์ แต่ถ้ามีการเพิ่มพูนศักยภาพพวกเขาด้วย 3D printers, CNC equipment, เครื่องตัด Laser  และเครื่องมือต่างๆเพื่อออกแบบการผลิตต่างๆ ก็จะช่วยให้พวกเขาทำงานตามความประสงค์ต่างๆ ได้

การขับเคลื่อนในเรื่องนี้ได้มี “ความร่วมมือเทคโนโลยี”  เกิดขึ้นมากมาย เช่น
Open Source Ecology's (OSE) "Global Village Construction Set. ซึ่งเป็นชุมชนของนักคิด เกษตรกร วิศวกร..ทั่วโลกที่ร่วมมือกันสร้างเครื่องมือ อุปกรณ์ราคาถูกแล้วเปิดเผยให้คนอื่น คำว่า Global ตรงนี้มีความแตกต่างกับคำว่า “ทั่วโลก”ในความหมายทั่วไป เพราะหลักการของการแก้ปัญหาของ OSE ไม่ใช่การแก้ปัญหาที่ส่วนกลาง แต่เป็นการใช้ฮาร์ดแวร์ที่เป็นประโยชน์ลงไปในพื้นที่ท้องถิ่น เพื่อก้าวไปสู่ความสำเร็จในการ “กระจายเครื่องมือการผลิต” ด้วยเครื่องมือที่สามารถใช้ได้ตลอดชีวิต ไม่มีล้่าสมัย

ด้านล่างนี้เป็นการพูดในรายการ TED 2011 โดยผู้อำนวยการในฐานะผู้้ก่อตั้ง  OSE  คุณ มาร์ซิน  จากูโบสกี ผู้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่า “อุตสาหกรรมการผลิตต่างๆแม้จะมีขนาดเล็กแต่ก็สามารถประสบความสำเร็จได้ ด้วยการใช้เทคโนโลยีและวิธีการธรรมา ที่สามารถสร้างด้วยตัวเอง  ด้วยการสร้่างเครื่องมือต่างๆตั้งการทำอิฐจนกลายเป็นรถแทรคเตอร์ และอื่นๆอีก  โดย จากูโบสกี บอกว่าตัวเองก็เคยเป็นเกษตรกรที่ล้มเหลวในการที่เอาแต่การถพึ่งพาเทคโนโลยี และการเอื้อประโยชน์ต่างๆจากธุรกิจขนาดใหญ่จนทำให้เขาต้องหลายเป็นหนี้ เรื่องนี้อาจจะยังไม่เป็นที่คุ้นเคยในประเทศไทย



จากูโบสกี หวังว่าจะ “ปลดปล่อยพลังศักยภาพของมนุษย์ที่อยู่อย่างมหาศาล”  ด้วยการกระตุ้นและบอกกับประชาชนว่า ความรู้และเครื่องมือต่่างๆ คือสิ่งจำเป็นสำหรับพวกเขาในการสร้่างโลกที่พวกเขาอยู่อยู่ อยากเห็น  ซึ่งไม่ใช่โลกที่อยู่ภายใต้นักการเมืองคอรัปชั่นที่อาศัยอยู่ภายใต้ประชาธิปไตยจอมปลอม OSE ได้เติบโตมาอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่ปี 2011 ในรายการ  TED    โดย OSE ไม่ใช่แค่การเรียนรู้และสร้างจิตสำนึกเท่านั้น แต่หลักการของ OSE คือการเปิดโอกาสให้มีการใช้ฮาร์ดแวร์และการนำไปใช้เพื่อเพิ่มอำนาจและพลังให้กับบุคคลและชุมชนท้องถิ่น



ในภาพ: การแก้ปัญหาทางการเมืองถือว่าเป็นภารกิจที่ยิ่งใหญ่แต่ไม่มีความชัดเจน และดูเหมือนว่าจะมีการสูญเสียโอกาสต่างๆไปเรื่อยๆ   ดังนั้น The Open Source Ecology's "Global Village Construction Set"  จึงเป็น อุปกรณ์ที่สำคัญอย่างแท้จริงที่ได้ออกแบบกันขึ้นเมื่อเพื่อ “สร้่าง” ทดลอง และตอนนี้มีการแบ่งปันไปทั่วโลกโดยไม่มีค่าใช้จ่าย  นี่คือส่วนหนึ่งของการเคลื่อนไหวเรื่องการนำฮาร์ดแวร์เพื่อการพัฒนา
....
การเพิ่มกระบวนทัศน์นี้ต้องการให้เราวางความขัดแย้งทางการเมืองลง และเลือกที่จะเอาการแก้ปัญหาที่เป็นรูปธรรมเข้ามาแทนที่  โดยกุญแจสำคัญในการพัฒนาทางเศรษฐกิจและสังคมของเรานั้น  ย่อมไม่ได้ขึ้นอยู่กับการเลือกตั้งที่ได้ผู้แทนที่มีวาระทางการเมือง  แต่ขึ้นอยู่กับการผลิตทางกายภาพผ่านเทคโนโลยีต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น การย้ายสิ่งสกปรก การตัดโลหะและการควบคุมอิเล็กตรอน  โดยข้อมูลของ OSE สามารถเข้าไปดูได้ที่
website, และ Wiki  และ a 300 page .pdf book  ที่ทุกคนสามารถเข้าไปดูตัวอย่างความสำเร็จของสมาชิก OSE

ถ้าHackerspaces ทั้งในกรุงเทพฯและกระจายออกไปในต่างจังหวัดในชนบทของไทยโดยใช้รูปแบบเฟรนไชส์ ที่ช่วยแนะนำทักษะของการออกแบบและการผลิตพร้อมกับเครื่องมือที่จำเป็นสำหรับเกษตรกร   ก็จะเป็นการพัฒนาเกษตรกรให่้มีรายได้ที่มากขึ้น  ซึ่งรวมถึงสร้างโกดัง โรงสี ด้วยตัวเองเพื่อตัดปัญหาการเอารัดเอาเปรียบจากพ่อค้าคนกลางออกไป เพื่อให้รายได้และกำไรที่ขาวไร่ชาวนาลงแรงไป เป็นของพวกเขาอย่างแท้จริง

การเริ่มต้นทำ Hackerspaces นั้นทุกคนต้องมี เพื่อน มีพื้นที่ โต๊ะ เก้าอี้ และคอมพิวเตอร์ จากนั้น ค่อยนำความรู้ ทักษะ เรื่อง IT มาแลกเปลี่ยนกันในเรื่องที่แต่ละคนสนใจ  โดยทุนของการตั้ง  Hackerspaces  จะมาจากการเก็บค่าสมาชิกรายเดือน และอาจจะมีเก็บค่าการสอนและ work shop ต่างๆ
หลังจากนั้นเมื่อเวลาผ่านไป เครื่องมือพื้นฐานต่างๆสามารถนำมาเสนอให้สมาชิกได้้ ในท้่ายที่สุด จากการทำงานร่วมกันทั้งในท้องถิ่นและในระดับประเทศ  สมาชิกทุกคนก็สามารถคิดค่าธรรมเนียมรายเดือน พร้อมกับสามารถขยายกิจการให้ครอบคลุมเป้าหมายในการทำงานได้ การเริ่มจุดนี้ไม่จำเป็นต้องเปิด Hackerspaces  เป็นร้อยๆแห่งทั่วประเทศ เพราะเราสามารถนำต้นแบบของโครงการที่สำเร็จแล้วไปประยุกต์ใช้ในพื้นที่ต่างๆได้เลย โดยอาจจะเริ่มจากกรุงเทพฯก่อนแล้วขยายไปในพื้นที่ชนบท
ทั้งนี้ต้องเข้าใจก่อนว่าความก้าวหน้าทางสังคมสามารถมาจาก Hackerspaces  ได้ เพราะพวกเขาไม่ใช่แค่ “ชมรม” แต่เป็นสถาบันหน่วยหนึ่งทางการศึกษา อบรม ผลิต และการบริการต่างๆที่หลากหลายที่ครั้งหนึ่งนักการเมืองส่วนกลางเคยผูกขาด แต่จากนี้ไปจะไม่มีอีกแล้ว เพราะ  Hackerspaces  จะนำไปสู่การเปิดประตูท้องถิ่นและเพิ่มขีดความสามารถของบุคคลอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน

เป้าหมายสุดท้าย

เป้าหมายที่สูงสุดคือการสร้่างประชาชนให้มีทักษะและเครื่องมือในที่จำเป็นในการนำไปสู่การแก้ปัญหาของพวกเขาอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน และที่สำคัญที่สุดคือต้องแก้อย่างยั่งยืนถาวร เพราะนโยบายต่างๆที่นักการเมืองหาเสียงไว้นั้นมันจะไม่มีทางกลายเป็นจริง  ในกระบวนทัศน์นี้  ชาวไร่ชาวนาต้องสามารถเพิ่มพูนการผลิตของตัวเองเพื่อเพิ่มทั้งรายได้และคุณภาพชีวิตที่ดีด้วย

ชาวนาจะไม่ต้องกังวลเรื่องราคาข้าวตกต่ำ หากพวกเขาสามารถเข้าถึงและทำงานอย่างมีส่วนร่วมกับกลไกตลาดที่ทำให้มีกำไรมากเพิ่มขึ้น โดยการใช้ IT และเทคโนโลยี นั้น  สามารถฝึกฝนกันได้ การวิจัยทางการตลาด การเชื่อมต่อกับลูกค้่าที่มีศักยภาพทั้งในท้องถิ่นและที่เหนือไปกว่านั้น และ การหาโอกาสใหม่ๆ ในเรื่องเรายังคิดไม่ถึงเกี่ยวกับพื้นที่ชนบทของไทย

ย่้ำอีกครัั้ง แต่ละหมู่บ้านไม่จำเป็นที่จะต้องทำเรื่องนี้ด้วยตัวพวกเขาเอง เพราะในส่วนกลาง พร้อมทีี่เปิดความรู้และความสำเร็จต่างๆ ที่มีอยู่ที่ทุกคนสามารถเข้ามาศึกษาและนำไปใช้ได้  ทั้งนี้การแก้ปัญหาระยะยาวไม่สามารถทำได้สำเร็จเพียงแค่ชั่วข้ามคืน แต่ถ้าคนไทยเริ่มลงมาทำตั้งแต่ตอนนี้ เราก็จะได้เห็นผลกันก่อนสิ้นปี และมันจะเป็นการเริ่มต้นของการนำทักษะด้าน IT มาช่วยให้การศึกษา พร้อมกับศักยภาพทางการตลาดและโอกาสเพื่อเชื่อมต่อกับ ชาวไร่ ชาวนา ช่างฝีมือ ในพื้นที่ชนบท  ชนบทชาวไร่ชาวนา อย่างแท้จริง

ขณะที่การเมืองในปัจจุบันกำลังมีเป้่าหมายเพื่อ
โค่นล้มเผด็จการที่นั่งทำนาบนหลังคน กดขี่ ขูดรีดประชาชนในพื้นที่ชนบทมาอย่างยาวนานมาเป็นสิบปีและทิ้งให้ชาวนายากจนอยู่แบบนั้น พวกเราต้องมุ่งมั่นซึ่งไม่ใช่เพียงแต่จะรักษาบาดแผลจากการต่อสู้ครั้งนี้อย่างไรในระยะสั้นๆเท่านั้น แต่ในระยะยาวเราต้องมีการฟื้นฟูความเสียหายต่างๆที่เกิดขึึ้นมานานนับสิบปีให้กลับมาเป็นเหมือนเดิมด้วย